ชื่อวิจัย : การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุด ตัวประกอบของจำนวนนับ
โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวณัฐธยา ยะท่าตุ้ม
ปีการศึกษา : 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุด ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุด ตัวประกอบของจำนวนนับ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะและ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุด ตัวประกอบของจำนวนนับ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาลวัดดอนแก้ว เทศบาลนครแม่สอด จังหวัดตาก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 1 ห้องเรียนรวม 33 คนซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยเป็นการสุ่มตัวอย่างจากประชากรที่อยู่รวมกันเป็นห้องเรียนภายในห้องเรียนเดียวกัน ประกอบด้วยนักเรียนที่คละความสามารถทางการเรียนและลักษณะประชากรในแต่ละห้องมีความคล้ายคลึงกัน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย (1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุด ตัวประกอบ ของจำนวนนับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 7 เล่ม (2) แบบทดสอบหลังเรียนท้ายเล่มแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุด ตัวประกอบของจำนวนนับ เป็นแบบทดสอบปรนัย เลือกตอบ 4 ตัวเลือก มีทั้งหมด 7 ชุด ชุดละ 10 ข้อ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุด ตัวประกอบของจำนวนนับ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า
(1) ผลการวิเคราะห์แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุด ตัวประกอบของจำนวนนับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุด ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ถือเกณฑ์ประสิทธิภาพตัวแรก 80 พบว่า นักเรียนทั้งหมด 33 คน ทำแบบทดสอบหลังเรียนท้ายแบบฝึกทักษะทั้ง 7 เล่ม มีคะแนนเต็มรวมเฉลี่ยของนักเรียนทั้งหมด 330 คะแนน คะแนนรวมเฉลี่ยที่ได้ 267.86 คะแนน คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทั้งหมดเท่ากับ 8.12 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.81 และร้อยละของค่าเฉลี่ย คือ 81.17 ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุด ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD พบว่า นักเรียนทั้งหมด 33 คน ทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน จำนวน 20 ข้อ คะแนนเต็ม 660 คะแนน คะแนนที่ได้ 541 คะแนน คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทั้งหมดเท่ากับ 16.39 คิดเป็นร้อยละ 81.97 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.197 สรุปได้ว่า แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุด ตัวประกอบของจำนวนนับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 81.17/81.97 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
(2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุด ตัวประกอบของจำนวนนับ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD มีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 11.82 (S.D. = 1.074) แสดงให้เห็นว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุด ตัวประกอบของจำนวนนับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดย การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD มีค่าสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
(3) ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุด ตัวประกอบของจำนวนนับ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD การวิเคราะห์ แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุด ตัวประกอบของจำนวนนับ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ซึ่งมีคะแนนค่าเฉลี่ยรวม คิดเป็น 4.32 คะแนน ในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์มีระดับความพึงพอใจมาก
ดาวน์โหลด : บทคัดย่อ (1)